วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2553

ลักษณะครูต้นแบบ บทที่ 4





ลักษณะครูต้นแบบ

เมื่อเราทราบความสำคัญของครูต้นแบบ คำถามต่อ มาคือ ลักษณะของครูต้นแบบเป็นอย่างไร ถ้ากล่าวอย่างย่อ ลักษณะของครูต้นแบบที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก พระสัมมาลัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า กษณะประการที่ ของ ครูต้นแบบคือครูที่มีนิลัย คิดดี พูดดี ทำดี เป็นปกติ ไม่ใช่ดีแค่ครั้งคราว ลักษณะประการ

ที่ ๒ สามารถถ่ายทอด ฝึกฝนคิษยั้ให้มีนิสัยคิดดี พูดดี ทำดี เป็นปกติ เหมือนตัวเอง

จากลักษณะ ๒ ประการของครูตันแบบ ผู้เป็นครู ตันแบบจึงถูกบังคับให้มีหน้าที่ ๒ ประการคือ หน้าที่ข้อที่ ๑) ต้อง ฝึกฝนตนเองให้คิดดี พูดดี ทำดีเป็นปกติไม่ใช่ นานๆ ครั้ง หน้าที่ข้อที่ ๒) ครูต้นแบบต้องflกตนให้มี ความสามารถถ่ายทอดฝึกฝน คือทั้งฝึก ทั้งฝน ทั้งอบ ทั้งรม ให้คิษย์มีนิสัยชอบคิดดี พูดดี ทำดีเป็นปกติตาม มาด้วย

อย่างไรก็ตามบางท่านคิดดี พูดดี ทำดีได้เยี่ยมเลย แต่ขาดทักษะข้อที่ ๒ คือไม่สามารถจะถ่ายทอดให้ลูก ศิษย์ได้ ถ้าอย่างนั้นยังเป็นต้นแบบไม่ได้ ต้องตัวเองทำได้ แล้วถ่ายทอดได้ด้วย การคิดดี พูดดี ทำดี ไม่ใช่เป็นเพียง ความรู้ แต่ต้องเป็นการคิดดี พูดดี ทำดีเป็นปกติจนติดเป็น ิสัย คือทำได้จริงๆ คือ ในชีวิตประจำวัน ท่านก็คิดดีจริงๆ พูดดีจริงๆ และทำดีจริงๆ มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว


นิสัยคือพฤติกรรมที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้

๑. พฤติกรรมความเคยชิน ซึ่งเกิดจากการทำอะไร

บ่อยๆ แล้วติด เมื่อติดแล้วถ้าไม่ได้ทำอีกจะ

รู้สึกไม่สบายใจ
๒. โปรแกรมประจำตัวที่กำหนดพฤติกรรม

ทางกาย วาจา และใจ ของแต่ละบุคคลให้คิด

พูด และทำโดยอัตโนมัติ
๓. พฤติกรรมที่เกิดขึ้นต่อเนื่องไม่ขาดสาย ทั้งทาง

กาย วาจา ใจ ของแต่ละบุคคล

นิสัยมีทั้งดีและไม่ดี ขึ้นอยู่กับการอบรมฝึกฝน เลี้ยงดูและสิ่งแวดล้อมของบุคคลนั้น


นิสัยไม่ดี คือ การ คิด พูด ทำ เป็นประจำ ที่ทำให้ ตนเองหรือผู้อื่น หรือแม้กระทั่งทั้งตนเองและผู้อื่น ได้รับ ความเดือดร้อนอยู่เสมอ เช่น นิสัยติดบุหรี่ สุรา ยาเสพติด ติดเที่ยวกลางคืน ติดการละเล่น ติดการพนัน ติดการใช้ จ่ายสุรุ่ยสุร่าย ติดเพื่อนชั่ว ติดขี้เกียจ ติดเอาเปรียบ เกี่ยงงาน ติดคดโกง ติดพยาบาท ฯลฯ

นิสัยดี คือ การ คิด พูด ทำ เป็นประจำ ที่ทำให้ตนเอง หรือผู้อื่น หรือรวมกระทั่งทั้งตนเองและผู้อื่น ได้รับความ เย็นกาย เย็นใจ อยู่เสมอ เช่น นิสัยตรงต่อเวลา นิสัย ประหยัด นิสัยรอบคอบ นิสัยรักความสะอาด นิสัยชอบ แกไขตนเอง นิสัยรักความยุติธรรม นิสัยชอบคบคนดี นิสัยให้อภัย นิสัยให้ทาน นิสัยชอบฟังธรรม ฯลฯ

อานุภาพของนิสัย

นิสัยคือสิ่งที่เราทำจนคุ้น มีทั้งนิสัยดีและไม่ดี หากไม่ได้ทำอีกจะหงุดหงิด ซึ่งกลายเป็นโปรแกรมประจำ ตัวของคนๆ นั้น ถึงเวลาหรือได้จังหวะเมื่อใด นิสัยจะ บังคับให้เราต้องไปทำสิ่งนั้น เมื่อเราทำก็กลายเป็นกรรม มีผลออกมาเป็นบุญหรือบาป กรรมดีทำแล้วผลออกมา เป็นบุญ ส่งผลเป็นความเจริญรุ่งเรือง กรรมชั่วทำแล้ว ผลออกมาเป็นบาป ส่งผลเป็นความเสิ่อม ทั้งในชาตินี้ และชาติหน้า

ใครมีนิสัยอย่างไร ก็จะบังคับให้คิด พูด ทำอย่าง นั้นบ่อยๆ นิสัยดีก็คิดดีบ่อยๆ พูดดีบ่อยๆ ทำดีบ่อยๆ จึงได้บุญบ่อยๆ ทำให้เป็นสุขอย่างต่อเนื่อง มีความเจริญ รุ่งเรืองในชีวิต ปิดนรกเปิดสวรรค์ให้ตนเองได้ ในทาง ตรงกันข้าม ใครที่มีนิสัยไม่ดีก็คิดไม่ดีบ่อยๆ พูดไม่ดี บ่อยๆ ทำไม่ดีบ่อยๆ จึงได้บาปบ่อยๆ ทำให้เป็นทุกข์ อย่างต่อเนื่อง เป็นเหตุให้ความเสื่อมความย่อยยับเข้ามา ทับถม ตลอดชีวิตจึงเอาดีไม่ได้



ธรรมชาติของนิสัย

นิสัย มีธรรมชาติสำคัญ ประการที่เราควร ทำความเข้าใจ คือ

๑. นิสัยของใคร ย่อมเป็นบ่อเกิดแห่งความเสื่อม หรือความเจริญของคนๆ นั้น มิใช่เกิดจาก ผี ห่าซาตานหรือเทพยดาฟ้าดินตนไหน มา บันดาลให้เกิดขึ้นไม่

๒. นิสัยที่ฝืงลึกติดตัวข้ามชาติยากจะเปลี่ยน แปลงได้ เรียกว่า สันดาน

. ความรู้ด้านวิชาการทางโลกเป็นเพียงอุปกรณ์ ให้บุคคลนำไปใช้ประกอบการทำความดี-ความชั่ว ตามนิสัยดี-ชั่ว ของบุคคลนั้นๆ เท่านั้น

๔. นิสัยรวมๆ ของคนทั้งครอบครัว สังคม และ ประเทศชาติ เป็นบ่อเกิดที่แท้จริงของความ เสือม-ความเจริญ ทั้งของครอบครัว ชุมชน สังคมประเทศชาติและโลก หากบุคคลหรือ รัฐบาลใดหวังความสำเร็จในการปฏิรูปการ สีกษา จะต้องเริ่มที่การปฏิรูปนิสัยเป็นอันดับ แรกก่อน และนิสัยของบุคคลที่จะต้องปฏิรูป ก่อนก็คือนิสัยของ
๑) ผู้บริหารการคืกษา
๒) ครูบาอาจารย์ และ
) นักเรียน สำหรับ นักเรียนต้องปฏิรูปนิสัยเป็นอันดับแรก แล้ว ตามดัวยการถ่ายทอดความรู้วิชาการ
จึงจะ ถูกต้องได้ผล

๕.นิสัยสำคัญอันเป็นรากฐานของการอยู่ร่วมกัน ในสังคมให้สงบสุข คือนิสัยรับผิดชอบ เพราะต่างก็ตระหนักดีว่าการกระทำของตน ทุกอย่าง ย่อมมีผลทั้งทางตรงและทางอ้อม ต่อความเสือม-ความเจริญของตนเอง ผู้อื่น และสังคมโลกซึ่งเมื่อใครมีนิสัยรับผิดชอบนี้ แล้ว ก็จะกวดขันระมัดระวังการคิด การพูด การกระทำของตนเองไม่ให้ทำผิด มีผลเป็นความเจริญรุ่งเรืองทั้งต่อตนเอง ผู้อื่นและสังคมโลก

นิสัยจึงกลายเป็นเรื่องใหญ่สำหรับ "ครู" ถ้าไม่ อบรมบ่มนิสัยให้ดี แม้มีความรู้ ความสามารถดีเพียงใด นิสัยไม่ดีย่อมสร้างความทุกข์ให้แก,ตนเองและผู้อื่น โดย เฉพาะแก่ศิษย์อยู่รํ่าไป เพราะครูได้เป็นแบบอย่างในการ ทำความชั่วให้แก่ศิษย์โดยไม่รู้ตัว ตรงกันข้ามถ้าครูมี นิสัยคิดดี พูดดี และทำดี ก็จะเป็นแบบอย่างการทำ ความดีให้แก่ศิษย์ ศิษย์ก็จะเป็นผู้มีนิสัยดีตามครู ชีวิต จึงมีแต่ความสุข ความเจริญ เพราะนิสัยดีๆ เป็นเหตุให้ ทำกรรมดี เมื่อทำกรรมดี ก็ย่อมได้รับผลเป็นบุญเป็นกุศล ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความสุข ความเจริญก้าวหน้าในชีวิต

นิสัยเกิดขึ้นได้อย่างไร

นิสัยเกิดจากการคิด พูด ทำ เรื่องใดเรื่องหนึ่งซํ้าๆ บ่อยๆ อยู่เป็นประจำ ในที่สุดก็กลายเป็นนิสัยประจำใจ ของคนนั้น เช่น ไม่เคยดื่มเหล้ามาก่อน หากได้ทดลองดื่มติดต่อกันเพียง ๗ วัน ครั้นพอถึงเวลาก็จะรู้สึกเปรี้ยว ปากอยากดื่มเหล้าอีก ในทางตรงกันข้าม หากไม่เคยดู รายการธรรมะจากช่อง DMC พอได้ดูต่อเนื่องสัก ๗ วัน หากถึงเวลาแล้วไม่ได้ดูก็จะเริ่มรู้สึกว่าขาดอะไรบางอย่าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น