วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2553

ลักษณะครูต้นแบบ บทที่ 4





ลักษณะครูต้นแบบ

เมื่อเราทราบความสำคัญของครูต้นแบบ คำถามต่อ มาคือ ลักษณะของครูต้นแบบเป็นอย่างไร ถ้ากล่าวอย่างย่อ ลักษณะของครูต้นแบบที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก พระสัมมาลัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า กษณะประการที่ ของ ครูต้นแบบคือครูที่มีนิลัย คิดดี พูดดี ทำดี เป็นปกติ ไม่ใช่ดีแค่ครั้งคราว ลักษณะประการ

ที่ ๒ สามารถถ่ายทอด ฝึกฝนคิษยั้ให้มีนิสัยคิดดี พูดดี ทำดี เป็นปกติ เหมือนตัวเอง

จากลักษณะ ๒ ประการของครูตันแบบ ผู้เป็นครู ตันแบบจึงถูกบังคับให้มีหน้าที่ ๒ ประการคือ หน้าที่ข้อที่ ๑) ต้อง ฝึกฝนตนเองให้คิดดี พูดดี ทำดีเป็นปกติไม่ใช่ นานๆ ครั้ง หน้าที่ข้อที่ ๒) ครูต้นแบบต้องflกตนให้มี ความสามารถถ่ายทอดฝึกฝน คือทั้งฝึก ทั้งฝน ทั้งอบ ทั้งรม ให้คิษย์มีนิสัยชอบคิดดี พูดดี ทำดีเป็นปกติตาม มาด้วย

อย่างไรก็ตามบางท่านคิดดี พูดดี ทำดีได้เยี่ยมเลย แต่ขาดทักษะข้อที่ ๒ คือไม่สามารถจะถ่ายทอดให้ลูก ศิษย์ได้ ถ้าอย่างนั้นยังเป็นต้นแบบไม่ได้ ต้องตัวเองทำได้ แล้วถ่ายทอดได้ด้วย การคิดดี พูดดี ทำดี ไม่ใช่เป็นเพียง ความรู้ แต่ต้องเป็นการคิดดี พูดดี ทำดีเป็นปกติจนติดเป็น ิสัย คือทำได้จริงๆ คือ ในชีวิตประจำวัน ท่านก็คิดดีจริงๆ พูดดีจริงๆ และทำดีจริงๆ มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว


นิสัยคือพฤติกรรมที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้

๑. พฤติกรรมความเคยชิน ซึ่งเกิดจากการทำอะไร

บ่อยๆ แล้วติด เมื่อติดแล้วถ้าไม่ได้ทำอีกจะ

รู้สึกไม่สบายใจ
๒. โปรแกรมประจำตัวที่กำหนดพฤติกรรม

ทางกาย วาจา และใจ ของแต่ละบุคคลให้คิด

พูด และทำโดยอัตโนมัติ
๓. พฤติกรรมที่เกิดขึ้นต่อเนื่องไม่ขาดสาย ทั้งทาง

กาย วาจา ใจ ของแต่ละบุคคล

นิสัยมีทั้งดีและไม่ดี ขึ้นอยู่กับการอบรมฝึกฝน เลี้ยงดูและสิ่งแวดล้อมของบุคคลนั้น


นิสัยไม่ดี คือ การ คิด พูด ทำ เป็นประจำ ที่ทำให้ ตนเองหรือผู้อื่น หรือแม้กระทั่งทั้งตนเองและผู้อื่น ได้รับ ความเดือดร้อนอยู่เสมอ เช่น นิสัยติดบุหรี่ สุรา ยาเสพติด ติดเที่ยวกลางคืน ติดการละเล่น ติดการพนัน ติดการใช้ จ่ายสุรุ่ยสุร่าย ติดเพื่อนชั่ว ติดขี้เกียจ ติดเอาเปรียบ เกี่ยงงาน ติดคดโกง ติดพยาบาท ฯลฯ

นิสัยดี คือ การ คิด พูด ทำ เป็นประจำ ที่ทำให้ตนเอง หรือผู้อื่น หรือรวมกระทั่งทั้งตนเองและผู้อื่น ได้รับความ เย็นกาย เย็นใจ อยู่เสมอ เช่น นิสัยตรงต่อเวลา นิสัย ประหยัด นิสัยรอบคอบ นิสัยรักความสะอาด นิสัยชอบ แกไขตนเอง นิสัยรักความยุติธรรม นิสัยชอบคบคนดี นิสัยให้อภัย นิสัยให้ทาน นิสัยชอบฟังธรรม ฯลฯ

อานุภาพของนิสัย

นิสัยคือสิ่งที่เราทำจนคุ้น มีทั้งนิสัยดีและไม่ดี หากไม่ได้ทำอีกจะหงุดหงิด ซึ่งกลายเป็นโปรแกรมประจำ ตัวของคนๆ นั้น ถึงเวลาหรือได้จังหวะเมื่อใด นิสัยจะ บังคับให้เราต้องไปทำสิ่งนั้น เมื่อเราทำก็กลายเป็นกรรม มีผลออกมาเป็นบุญหรือบาป กรรมดีทำแล้วผลออกมา เป็นบุญ ส่งผลเป็นความเจริญรุ่งเรือง กรรมชั่วทำแล้ว ผลออกมาเป็นบาป ส่งผลเป็นความเสิ่อม ทั้งในชาตินี้ และชาติหน้า

ใครมีนิสัยอย่างไร ก็จะบังคับให้คิด พูด ทำอย่าง นั้นบ่อยๆ นิสัยดีก็คิดดีบ่อยๆ พูดดีบ่อยๆ ทำดีบ่อยๆ จึงได้บุญบ่อยๆ ทำให้เป็นสุขอย่างต่อเนื่อง มีความเจริญ รุ่งเรืองในชีวิต ปิดนรกเปิดสวรรค์ให้ตนเองได้ ในทาง ตรงกันข้าม ใครที่มีนิสัยไม่ดีก็คิดไม่ดีบ่อยๆ พูดไม่ดี บ่อยๆ ทำไม่ดีบ่อยๆ จึงได้บาปบ่อยๆ ทำให้เป็นทุกข์ อย่างต่อเนื่อง เป็นเหตุให้ความเสื่อมความย่อยยับเข้ามา ทับถม ตลอดชีวิตจึงเอาดีไม่ได้



ธรรมชาติของนิสัย

นิสัย มีธรรมชาติสำคัญ ประการที่เราควร ทำความเข้าใจ คือ

๑. นิสัยของใคร ย่อมเป็นบ่อเกิดแห่งความเสื่อม หรือความเจริญของคนๆ นั้น มิใช่เกิดจาก ผี ห่าซาตานหรือเทพยดาฟ้าดินตนไหน มา บันดาลให้เกิดขึ้นไม่

๒. นิสัยที่ฝืงลึกติดตัวข้ามชาติยากจะเปลี่ยน แปลงได้ เรียกว่า สันดาน

. ความรู้ด้านวิชาการทางโลกเป็นเพียงอุปกรณ์ ให้บุคคลนำไปใช้ประกอบการทำความดี-ความชั่ว ตามนิสัยดี-ชั่ว ของบุคคลนั้นๆ เท่านั้น

๔. นิสัยรวมๆ ของคนทั้งครอบครัว สังคม และ ประเทศชาติ เป็นบ่อเกิดที่แท้จริงของความ เสือม-ความเจริญ ทั้งของครอบครัว ชุมชน สังคมประเทศชาติและโลก หากบุคคลหรือ รัฐบาลใดหวังความสำเร็จในการปฏิรูปการ สีกษา จะต้องเริ่มที่การปฏิรูปนิสัยเป็นอันดับ แรกก่อน และนิสัยของบุคคลที่จะต้องปฏิรูป ก่อนก็คือนิสัยของ
๑) ผู้บริหารการคืกษา
๒) ครูบาอาจารย์ และ
) นักเรียน สำหรับ นักเรียนต้องปฏิรูปนิสัยเป็นอันดับแรก แล้ว ตามดัวยการถ่ายทอดความรู้วิชาการ
จึงจะ ถูกต้องได้ผล

๕.นิสัยสำคัญอันเป็นรากฐานของการอยู่ร่วมกัน ในสังคมให้สงบสุข คือนิสัยรับผิดชอบ เพราะต่างก็ตระหนักดีว่าการกระทำของตน ทุกอย่าง ย่อมมีผลทั้งทางตรงและทางอ้อม ต่อความเสือม-ความเจริญของตนเอง ผู้อื่น และสังคมโลกซึ่งเมื่อใครมีนิสัยรับผิดชอบนี้ แล้ว ก็จะกวดขันระมัดระวังการคิด การพูด การกระทำของตนเองไม่ให้ทำผิด มีผลเป็นความเจริญรุ่งเรืองทั้งต่อตนเอง ผู้อื่นและสังคมโลก

นิสัยจึงกลายเป็นเรื่องใหญ่สำหรับ "ครู" ถ้าไม่ อบรมบ่มนิสัยให้ดี แม้มีความรู้ ความสามารถดีเพียงใด นิสัยไม่ดีย่อมสร้างความทุกข์ให้แก,ตนเองและผู้อื่น โดย เฉพาะแก่ศิษย์อยู่รํ่าไป เพราะครูได้เป็นแบบอย่างในการ ทำความชั่วให้แก่ศิษย์โดยไม่รู้ตัว ตรงกันข้ามถ้าครูมี นิสัยคิดดี พูดดี และทำดี ก็จะเป็นแบบอย่างการทำ ความดีให้แก่ศิษย์ ศิษย์ก็จะเป็นผู้มีนิสัยดีตามครู ชีวิต จึงมีแต่ความสุข ความเจริญ เพราะนิสัยดีๆ เป็นเหตุให้ ทำกรรมดี เมื่อทำกรรมดี ก็ย่อมได้รับผลเป็นบุญเป็นกุศล ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความสุข ความเจริญก้าวหน้าในชีวิต

นิสัยเกิดขึ้นได้อย่างไร

นิสัยเกิดจากการคิด พูด ทำ เรื่องใดเรื่องหนึ่งซํ้าๆ บ่อยๆ อยู่เป็นประจำ ในที่สุดก็กลายเป็นนิสัยประจำใจ ของคนนั้น เช่น ไม่เคยดื่มเหล้ามาก่อน หากได้ทดลองดื่มติดต่อกันเพียง ๗ วัน ครั้นพอถึงเวลาก็จะรู้สึกเปรี้ยว ปากอยากดื่มเหล้าอีก ในทางตรงกันข้าม หากไม่เคยดู รายการธรรมะจากช่อง DMC พอได้ดูต่อเนื่องสัก ๗ วัน หากถึงเวลาแล้วไม่ได้ดูก็จะเริ่มรู้สึกว่าขาดอะไรบางอย่าง

ความสำคัญของครูต้นแบบ บทที่3



มีคำถามต่อมาว่า ทำไมเราจึงต้องมีครูต้นแบบ เพราะพวกเราทึ่ท่าหน้าที่เป็นครูกันอยู่ทุกวันนี้
กว่าจะมา เป็นครูได้ เราก็ต้องอาศัยต้นแบบมาก่อนเหมีอนกัน คือเราก็ต้องมีครูของเรามาก่อน แล้วครูของเราแต่ละท่าน กว่าจะมาเป็นครูให้เราไต้ ท่านก็มีครูของครูกันมา เป็นต้นแบบกันมาตามลำดับ ๆ จนกระทั่งมาถึงพวกเราจึงทำให้เราต้องมาเป็นต้นแบบให้กับลูกศิษย์ของเราใน ขณะนี้ และลูกศิษย์ของเราขณะนี้ วันหนึ่งก็จะต้อง เป็นต้นแบบให้กับรุ่นต่อๆ ไป

แต่คำถามคือ ทำไมเราจึงต้องมีบุคคลต้นแบบหรือ มีครูต้นแบบในโลกนี้ต้วย ที่เป็นเช่นนี้เพราะเราเกิดมา พร้อมกับความไม่รู้จริงอะไรเลย คือเราเกิดมาพร้อมกับ อวิชชา หรือเกิดมาพร้อมกับความโง่นั่นเอง คือ ไม่ได้รู้ อะไรเลย แล้วค่อยมาคืกษาเอาภายหลังทั้งนั้น ศึกษา จากคุณพ่อคุณแม่บ้าง
คุณครูบ้าง พระสงฆ์บ้าง ลุง ป้า น้า อาบ้าง ค่อยสะสมความรู้กันมาตามลำดับๆ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงชี้ชัดลงไปว่า จากการที่ พระองค์ได้ทรงค้นคว้าเรื่องราวความเป็นจริงของโลกชีวิต และจิตใจ มาเป็นเวลา ๒๐ อสงไขยกับแสนมหากัป คำ ว่ามหากัปคืออายุของโลกแต่ละครั้ง โดยนับตั้งแต่โลก เป็นหมอกเพลิง จนกระทั่งเย็นลง แล้วก็มีสัตวโลกมา อาศัยอยู่ ครั้นแล้วต่อมาความไม่รู้จริงของสัตวโลกได้ทำ เรื่องร้ายๆ ให้เกิดขึ้น แล้วโลกก็เลยเผาไหม้กลายเป็นจุลไป เหมือนกับเด็กที่เผากระต๊อบ เผาบ้านของตนทิ้งนั่นแหละ แต่ว่าเด็กเผากระต๊อบเฉพาะที่ตนอยู่ ส่วนชาวโลกทำเรื่องที่ไม่เหมาะไม่ควร ด้วยความไม่รู้จริง โลกทั้งโลกมันก็ เลยไหม้กลับกลายเป็นหมอกเพลิงไปอีก

ครั้งหนึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเสียเวลานานถึง ๒๐ อสงไขย กับแสนมหากัป กว่าจะค้นพบความเป็นจริงของ โลก ชีวิต และจิตใจ เพราะฉะนั้น ถ้าใครคิดจะวิจัยเอง ก็คงจะต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่านี้ ดังนั้น ก็อย่าเสีย เวลาเลย ขอให้เรียนรู้ตามที่พระบรมครูทรงสอนไว้ก่อน ถ้าใครอยากจะพิสูจน์ก็สามารถพิสูจน์ตามแนวทางที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ ตอนนี้ให้รับไว้ก่อน
พระองค์ทรงชี้ชัดว่า มีความจริงของโลก ชีวิตและ จิตใจที่ทุกๆ คนจำเป็นต้องรู้ไว้ ๒ เรื่องใหญ่ คือ ๑) เรา เกิดมาพร้อมกับความไม่รู้ ๒) มีกฎเหล็กกำกับชีวิตสัตว-โลกเอาไว้แล้วคือ กฎแห่งกรรม

สิ่งที่เราคิด เราพูด เราทำ ลงไปนั้นไม่สูญเปล่า จะมีผลเป็นกรรมติดตัวตลอดไป แม้ไม่มีตำรวจมาจ้องตรวจสอบไม่มียมบาลแวะเวียนมาดู ไม่มีเทวดามาคอยจดบันทึก แต่ว่าก็มีผลติดตัวเราไป กล่าวคือ ทุกสิงที่เราคิด ทุกอย่างที่เราทำ ทุกคำที่เราพูด ล้วนมีผลติดตัวเราตลอดไป ถ้าสิ่งที่เราทำนั้น เป็นกรรมชั่ว ผลแห่งกรรมชั่วนั้นก็จะตามล้างตามผลาญเราให้ตกตํ่า

ไม่รู้จบรู้สิ้น แต่ถ้าสิ่งที่เราทำเป็นกรรมดี ก็จะติดตามส่ง ผลให้เรามีความสุขความเจริญไม่รู้จบรู้สิ้นเช่นกัน ตาม กฎแห่งกรรม
ไม่ว่าเราจะรู้หรือไม่รู้ เราจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ตาม การกระทำล้วนมีผลต่อเราทั้งสิ้น เช่นเด็กที่ไม่รู้ว่าไฟร้อน ถ้าเอามือไปจับถ่านไฟเข้า จับปับมือก็พอง ก็เจ็บ นี่เป็น ตัวอย่างทางด้านกายภาพ แต่ว่าถ้าแทนที่จะไปจับถ่าน ร้อนๆ กลับไปจับหัวพ่อหัวแม่เล่นเข้าเท่านั้น มีเรื่องตาม มาอีกยาวเหยียด มันไม่ใช่แค่ร้อนเหมือนไฟถ่าน แต่มี ผลอย่างอื่นที่ไม่น่าพึงพอใจตามมา ภาษาพระท่านใช้คำ ว่ามีบาปกรรมตามมานะลูกนะ

ในเมื่อทุกอย่างที่เราตั้งใจคิด ทุกคำที่เราตั้งใจพูด และทุกสิงที่เราตั้งใจทำ ล้วนเป็นกรรมติดตัวเรา ถ้ากรรม นั้นเป็นกรรมไม่ดี ก็จะตามล้างตามผลาญเราไป ไม่ เฉพาะแต่ในชาตินี้ แม้ข้ามชาติมันก็ยังตามล้างตาม ผลาญไม่ยอมเลิก จนมีภาษิตเป็นสำนวนในภาษาปูย่าตา ยายของเราว่าเป็น กงเกวียนกำเกวียน ซึ่งเอามาจาก พระพุทธศาสนาว่า กรรมชั่วที่คนเราทำไว้จะตามบดขยี้ตัวเอง เหมือนกงล้อเกวียนที่ตามบดขยี้รอยเท้าโคที่ลาก เกวียนไปฉะนั้น ไม่รู้จบรู้สิ้น

ตรงกันข้าม ถ้า สิ่งที่เราตั้งใจคิด ที่เราตั้งใจพูด ที่เรา ตั้งใจทำ มันเป็นกรรมดีก็จะส่งผลให้เรามีแต่ความสุข ความเจริญ ไม่เฉพาะในวันนี้ พรุ่งนี้ เดือนนี้ ปีนี้ ชาตินี้ เท่านั้น ข้ามชาติก็ยังส่งผลให้เป็นความสุขความเจริญต่อไปอีก ดูจากพวกเราเองเป็นตัวอย่าง ตั้งแต่เกิด ก็มีสติ มีปัญญาติดตัวมามากในระดับหนึ่ง ทำให้เมื่อโตขึ้นก็ สามารถเรียนรู้เรื่องความรู้ความดีได้มากกว่าคนอื่น จน กระทั่งได้มาเป็นครูคน ถ้าไม่มีผลแห่งกรรมดีติดตัวข้าม ชาติมา ก็ยากที่จะได้มาทำหน้าที่นี้ แค่จะเกิดเป็นคนยังยาก อาจต้องกลายไปเป็นสัตวโลกชนิดอื่นไป แต่เพราะอาศัย กรรมดีที่มีติดตัวข้ามชาติมา รวมกับกรรมดีที่สั่งสมหลัง จากเกิดมาแล้ว จึงได้มาเป็นครูต้นแบบในวันนี้

เพราะฉะนั้น ถ้าปรารถนาจะให้คนทั้งโลก ไม่ต้อง ไปทำกรรมชั่ว ให้กงเกวียนหรือล้อเกวียนตามขยี้ตัวเอง เหมือนกงล้อเกวียนที่ตามขยี้รอยเท้าโค รอยเท้าควาย เราต้องหาวิธีป้องกันกรรมชั่ว ไม่ให้เกิดขึ้นกับทุกๆคนในโลกนี้ตั้งแต่วันที่เกิดขึ้นมา วิธีที่ง่ายที่สุด และมี ประสิทธิภาพที่สุดคือ ต้องเตรียมบุคคลต้นแบบรอไว้ตลอด เวลานั่นเอง

หากบุคคลหรือศิษย์คน ใด ได้บุคคลดีหรือครูดี เป็นต้นแบบ บุคคลนั้นหรือศิษย์นั้นจึงมีโอกาสเป็นคนดี หรือได้ดีตามครูมาอย่างรวดเร็ว ไม่ต้องไปพลั้งเผลอ สร้างกรรมชั่ว ให้ตามบดขยี้ให้ชํ้าอกชํ้าใจ ตลอดชีวิตหรือ ข้ามชาติไปด้วย เพราะฉะนั้น คนโชคดีคือคนที่เกิดมาแล้ว ไต้ครูดีๆ เป็นต้นแบบ ถึงแม้พ่อแม่ อาจจะไม่มีกองมรดก เป็นพัน เป็นหมื่น เป็นแสนล้านกองเอาไว้ให้ หรือเกิดมา มีรูปร่างหน้าตาไม่หล่อเหมือนดารา ไม่สวยเหมือน นางงามจักรวาล แต่ว่าได้ครูดีเป็นต้นแบบ เพียงแค่นี้ก็มี คุณค่ามหาศาลแก่ชีวิตแล้ว มีค่ากว่าเงินเป็นหมื่นเป็น แสนล้าน มีค่ากว่าความหล่อความสวยเหล่านั้น เพราะ สามารถป้องกันกรรมชั่วไม่ให้เกิดตั้งแต่หัวเท่ากำปั้นแล้ว ต่อแต่นั้เปทุกลมหายใจเข้าออกมีแต่กรรมดี มีแต่ผลบุญ คุ้มครองตัวไปตลอดชีวิต คำว่าตกตํ่าจะไม่มีเลย มัน วิเศษตรงนี้ สำหรับคนที่ได้ครูดีเป็นต้นแบบ

อย่างที่เรารู้กัน ความดีไม่เคยมีใครได้มาฟรีๆ เหมือนความชั่ว ถ้าเปรียบกับท้องไร่ท้องนา ข้าวในนาไม่ ได้มาฟรีๆ ต้องไถ ต้องหว่าน ต้องทดนํ้าเข้านา ต้องดูแล ต้องใส่ปุยกันสารพัด กว่าจะได้ข้าวในนาเอามากิน กว่าจะ ได้ข้าวมาแต่ละต้น แต่ละรวงมาหุงเป็นข้าวในหม้อให้เรากิน เหนื่อยแทบตาย แต่หญ้าในนาได้ฟรี มันงอกขึ้นมาเอง ถอนเท่าไหร่ก็ไม่รู้จักเตียน มันได้มาฟรีๆ

ความดีเปรียบเหมือนข้าวในนา ปลูกแล้วปลูกอีก บำรุงแล้วบำรุงอีก กว่าจะได้เป็นข้าว กว่าจะได้เป็นความดี ติดตัวมา มันใช้เวลา ใช้ความพยายาม ในขณะที่กรรมไม่ดี มันเกิดขึ้นได้เอง เหมือนกับหญ้าในท้องนานั่นแหละ

เพราะฉะนั้นการที่ใครจะได้มาเป็นครูต้นแบบไม่ง่าย เหมือนปอกกล้วยเข้าปาก กว่าจะได้เป็น ต้องฝึกตัวเอง แล้วฝึกตัวเองอีก ทั้งๆ ที่ฝึกแล้วฝึกอีก แต่ก็ยังดีได้ไม่ สมบูรณ์ เพราะ ๑) ที่ไม่ดีก็ยังมีตกค้างอยู่ ยังไม่หมด ๒) สิงที่เราว่าดีแล้ว แต่ดีกว่านี้มันยังมี นั่นแสดงว่าเรา ยังดีไม่จริง ตรงนี้เอง ก็เลยทำให้เราต้องมาสีกษาธรรมะของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องมาศึกษากันว่า ครูต้นแบบที่ดี จริงๆ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้มาตรฐานไว้ว่าอย่างไร
(ตามบทต่อไป)

วันอาทิตย์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2553

มาตรฐานครูต้นแบบ บทที่2

๒. มาตรฐานครูต้นแบบ
ครูคนใดจะทำหน้าที่ของครูต้นแบบตามคำนิยามดัง กล่าวข้างต้นได้แค่ไหน เป็นเรื่องที่ครูแต่ละคนจะต้อง สำรวจตรวจสอบตัวเอง ในการสำรวจตรวจสอบนั้น ครู จะยึดถือใครเป็นแบบอย่าง เพื่อใหได้มาตรฐานที่ถูกต้อง สูงส่งดีงาม และสามารถทำตามได้จริง ก็ให้ถือเอาตาม มาตรฐานของท่านผู้รู้จริง ในฐานะที่เป็นชาวพุทธ เราก็ ต้องถือเอาแบบอย่างของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นพระบรมครูของพวกเราเป็นมาตรฐาน เพราะฉะนั้น มาตรฐานครูต้นแบบสำหรับครูทั้งแผ่นดิน ก็ต้องเป็น มาตรฐานเดียวกัน คือ ใช้มาตรฐานของพระสัมมา สัมพุทธเจ้า

วันพุธที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2553

ครูต้นแบบคีอใคร บทที่1

๑. ครูต้นแบบคีอใคร
ครูต้นแบบคือใคร ก่อนที่จะตอบคำถามนี้ ให้เรา ใช้ความรู้ภาษาไทย ซึ่งมีเป็นพื้นฐานกันอย่แล้ว โดย
พิจารณา จากความหมายของคำว่า "แบบ"
ในพจนานุกรมให้ความหมายว่า แบบ คือ ตัวอย่าง ที่ใช้เป็นหลักหรือ เป็นแนวทาง
เพราะฉะนั้น ต้นแบบ ก็คือ เป็นต้นของตัวอย่าง เป็นต้นของแนวทาง เป็นจุดกำเนิดของตัวอย่าง เป็นจุด กำเนิดของแนวทาง

ถ้าถามว่าครูต้นแบบคือใคร ครูต้นแบบในเชิงของ ศาสนา โดยเฉพาะศาสนาพุทธของเรา ครูต้นแบบก็คือครู ที่มีทั้งความรู้ ความสามารถ และความดี ในระดับที่มาก พอสำหรับเป็นตัวอย่าง เพราะทุกคนเมื่อมีโอกาสได้เกิด มาเป็นมนุษย์แล้ว ความรู้ ความสามารถ และความดี ก็มี ด้วยกันทั้งนั้น เพียงแต่ว่ามากหรือน้อย ถ้าไม่มีความรู้ ไม่มีความสามารถ ไม่มีความดีอยู่ในตัวเลย ก็ไม่สามารถ เกิดเป็นคนได้ คงต้องไปเกิดเป็นสัตวโลกชนิดอื่น

ในบรรดาสัตว์ต่างๆ ที่มีอยู่ในโลก คนเป็นสัตวโลก ประ๓ทหนึ่งที่พิเศษกว่าสัตวโลกทั้งหลายตรงที่มีความดี อยู่ในตัว คือ มีความรู้ มีความสามารถมากพอ ที่จะ จำแนกว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรผิด อะไรถูก อะไรควร อะไรไม่ควร ซึ่งความรู้ความสามารถเรื่องนี้สัตวโลกชนิด อื่นไม่มี

เพราะมีความรู้ มีความสามารถ มนุษย์จึงสามารถ ใช้ความรู้ความสามารถมาสร้างความดีได้ เพราะฉะนั้น ผู้ เป็นครูต้นแบบ จึงเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และ ความดีมากพอ ที่จะเป็นตัวอย่างแก่ศิษย์ ในเรื่องของการ คิด ในเรื่องของการพูด ในเรื่องของการกระทำที่ถูกต้อง และดีงาม

จึงสรุปได้ว่า ครูต้นแบบ คือ ครูที่มีคุณสมบัติครบ ๓ ประการ คือ ๑) มีความรู้ ๒) มีความสามารถ และ ๓) มีความดี ในระตับที่มากพอที่จะเป็นตัวอย่างให้แก่ ลูกคิษย์ทั้งด้านการคิด การพูด และการกระทำต่างๆ ได้ อย่างถกต้องดีงาม